July 18, 2016

บทบาทหน้าที่ กศน.ตำบล

ตอนที่ 1 บทนำ

1. ความเป็นมา
                   การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ. 2552-2561) ได้ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบลขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับประชาชนเพื่อประชาชนได้ใช้ในการแสวงหาความรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
2. ความหมาย
         กศน.ตำบล หมายถึง หน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ตั้งอยู่ในระดับตำบล/แขวง
3. หลักการ
หลักการทำงาน กศน. ตำบล ยึดชุมชนเป็นฐานในการทำงานและการเรียนรู้ โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในชุมชน/สังคม เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินการจัดกิจกรรม กศน. ตำบล ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา บูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชน มีคณะกรรมการ กศน. ตำบล ที่เป็นคนในชุมชนให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตามดูแลและร่วมประเมินผลการดำเนินงาน กศน. ตำบล
4. วัตถุประสงค์
          กศน. ตำบล จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1)      เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
2)      เพื่อสร้างและขยายภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
3)      เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย
4)      เพื่อประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน

ตอนที่ 2 การดำเนินงาน กศน.ตำบล
1. การบริหารจัดการ
          มีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
1)      ด้านอาคารสถานทีปรับปรุงอาคารสถานที่ทั้งภายในและภายนอกให้มีความพร้อมในการให้บริการให้มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย เหมาะสมและมีบรรยากาศเอื้อต่อการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2)      ด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ จัดหา วัสดุ และครุภัณฑ์ พื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย เพียงพอกับความต้องการ เช่น คอมพิวเตอร์สำหรับบริการสืบค้นข้อมูล โปรเจ๊กเตอร์  เครื่องเล่นดีวีดี  อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม วิทยุ ฯลฯ และดูแล บำรุงรักษาวัสดุ และครุภัณฑ์ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
3)      จัดหาสื่อการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ทั้งสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
4)      ด้านบุคลากร
          หัวหน้า กศน. ตำบล/แขวง ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุน และประสานการทำงานกับครู ศรช. ชุมชนและภาคีเครือข่าย ปฏิบัติหน้าที่ประจำ ในพื้นที่ กศน. ตำบล ที่รับผิดชอบได้รับการอบรมพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามแผนที่ อำเภอหรือจังหวัด กำหนด
          ครู กศน. จัดกิจกรรม กศน. ในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่รับผิดชอบ ประสานการทำงานร่วมกับหัวหน้า กศน.ตำบล ชุมชนและภาคีเครือข่าย
            คณะกรรมการ กศน. ตำบล  ดำเนินการสรรหา คณะกรรมการ กศนตำบล ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน กศน. กำหนด สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่คณะกรรมการ กศน. ตำบล เกี่ยวกับการดำเนินงาน กศน. ตำบล เสริมสร้างแรงจูงใจและความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม กศน.ตำบล.ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการจัดประชุมคณะกรรมการ กศน. ตำบล
            อาสาสมัคร กศน.ตำบล ดำเนินการสรรหาและเสริมสร้างแรงจูงใจในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม กศน. ตำบล
            ภาคีเครือข่าย  แสวงหา รวบรวมและจัดทำทำเนียบภาคีเครือข่ายในระดับตำบล สร้างความเข้าใจให้แก่ภาคีเครือข่ายเกี่ยวกับการดำเนินงาน กศน.ตำบล เสริมสร้างแรงจูงใจและความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม กศน.ตำบล
2. กิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล
(1)    ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information center)
·         พัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศระดับชุมชน ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยโดยใช้แบบเก็บข้อมูลของสำนักงาน กศน. จัดเก็บข้อมูลให้ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ประมวลผลเป็นรายตำบล จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ และนำมาใช้ในการบริหารจัดกิจกรรม
·         จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ กศน. ตำบล และแผนปฏิบัติการประจำปี  นำเสนอแผน ต่อคณะกรรมการ กศน. ตำบล และภาคีเครือข่าย และเสนอแผนให้ กศน. อำเภอ /เขตพิจารณา อนุมัติ
·         เสนอความรู้ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศของชุมชนให้ถูกต้องและทันสมัยโดยเสนอข้อมูลสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่นข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งเรียนรู้ในชุมชนการตลาดชุมชน สินค้าชุมชน ฯลฯ จัดทำข้อมูลสารสนเทศเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสาร แผนภูมิ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ เป็นต้น
(2)    ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center)
·         ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย โดยประสานงาน/วางแผนร่วมกับภาคีเครือข่าย ในชุมชน เช่นคณะกรรมการชุมชน อบต. พัฒนาที่ดิน สถานีอนามัย พัฒนากรตำบล สหกรณ์ ปศุสัตว์ประมง ตำรวจกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน วัด มัสยิด โรงเรียน ฯลฯ เพื่อจัดกิจกรรมบริการชุมชน รวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ของภาคีเครือข่าย ในการจัดการเรียนรู้
·         เชื่อมโยงรูปแบบการให้บริการของหน่วยงานภาคีเครือข่าย กับ กศน. ตำบลโดย ส่งเสริมและหรือจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it center)(สอศ.) ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน (กระทรวงไอซีที) มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (สสวท.) บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ธนาคารเคลื่อนที่ การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย อำเภอเคลื่อนที่ ฯลฯ พัฒนารูปแบบกิจกรรมให้หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเพื่อสร้างโอกาส การเรียนรู้ให้กับประชาชน
·         พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยจัดทำเว็บไซด์กศน.ตำบลใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการติดต่อกับผู้เรียน/ผู้รับบริการ สืบค้น รวบรวมและการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และแหล่งข้อมูลอื่นๆ
(3)    ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center)
(1)    ออกแบบกิจกรรม/โปรแกรมการศึกษา ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายโดย กศน. ตำบล และ กศน. อำเภอ ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในการออกแบบกิจกรรม/โปรแกรมหรือโครงการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน.  กิจกรรม/โปรแกรมหรือโครงการควรมีลักษณะที่บูรณาการระหว่างวิถีชีวิต การทำงานและการเรียนรู้
(2)    จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน
·         ส่งเสริมการรู้หนังสือ โดยจัดทำแผนการแก้ปัญหาผู้ไม่รู้หนังสือสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ในตำบลอย่างชัดเจน จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ ในกลุ่มเป้าหมายอายุ 15-59 ปี เป็นลำดับแรก
·         การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำแผนยกระดับการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจำแนกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ผู้เรียนที่ออกกลางคัน เด็กเร่ร่อน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ กลุ่มผู้ย้ายถิ่น ผู้นำท้องถิ่น กลุ่มอาชีพประชากรวัยแรงงาน เป็นต้น วางแผนการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และรายงานผลการดำเนินงาน
(3)    การศึกษาต่อเนื่อง
·         การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จะต้องให้ความสำคัญและดำเนินการ จัดการศึกษาต่อเนื่องประเภทการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพเป็นลำดับแรกโดย จัดทำแผนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ/หลักสูตรอาชีพระยะสั้น ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชนโดยเน้นการเพิ่มทักษะทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และอาชีพใหม่ที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
·         การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จัดทำแผนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการ ความจำเป็นของผู้เรียนและชุมชน เช่น การป้องกันสาธารณภัย สุขภาพอนามัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คุณธรรมจริยธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
·         การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จัดทำแผนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนใช้รูปแบบ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่นๆที่เหมาะสม เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย จัดกระบวนการเรียนรู้ในการเป็นพลเมืองดีของชุมชน สังคม ของประเทศ เพื่อนำไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์ เศรษฐกิจชุมชน และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ จัดการศึกษาต่อเนื่องโดยใช้หลักสูตรบูรณาการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(4)    การศึกษาตามอัธยาศัย
·         การส่งเสริมการอ่านโดย จัดทำแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ในรูปแบบต่างๆ เช่น ครอบครัวรักการอ่าน มุมส่งเสริมการอ่านในชุมชน กศน.ตำบลเคลื่อนที่ อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน กระเป๋าความรู้สู่ชุมชน หีบหนังสือสู่หมู่บ้าน จุดบริการการอ่านชุมชน มุมอ่านหนังสือที่ท่ารถ ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม สถานีอนามัย เป็นต้น
·         จัดบริการสื่อ โดยจัดบริการสื่อประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมและหลากหลาย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ (นสพ.) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสาธิต สื่อทดลอง วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว เป็นต้น บริการ Student Channel เพื่อเสริมศักยภาพให้กับโรงเรียนดีประจำตำบล บริการการศึกษาทางไกล (ETV) ให้กับนักศึกษา กศน. และประชาชนทั่วไป
4) ศูนย์ชุมชน (Community Center)
         จัดและส่งเสริมให้ กศน. ตำบล เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชนเช่น เวทีชาวบ้าน สภากาแฟ สถานที่พบปะเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลาดนัดอาชีพ กิจกรรมศาสนา วัฒนธรรม เวทีประชาธิปไตย กีฬา ฯลฯโดยครู กศน.ตำบลเป็นผู้ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้ง อบต. อบจ. เทศบาล ตลอดจนภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งอาสาสมัคร ในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) อาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชน ผู้นำท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรม เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
3. การมีส่วนร่วมของชุมชน
การมีส่วนร่วมของชุมชน มีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
1)      ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนของชุมชนเห็นความสำคัญและเข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรม กศน. ตำบล และจัดให้มีการยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นต้น
2)      ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนางาน กศน.ตำบล อย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมในการนิเทศ ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน กศน. ตำบล
3)      เสริมสร้างและพัฒนาระบบเครือข่ายการเรียนรู้ ภายในตำบล และระหว่างตำบล เช่น แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนดีประจำตำบลศูนย์ ICT ตำบล เป็นต้น
4. การนิเทศ ติดตามและรายงานผล
1)      การนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปี โดยจัดทำแผนการนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรมในพื้นที่ ประสานภาคีเครือข่ายร่วมนิเทศ ติดตามผล จัดให้มีประชานิเทศกิจกรรมในพื้นที่
2)      การรายงานผลการจัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปี โดยจัดทำปฏิทินการรายงานผลการจัดกิจกรรมจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมผลการจัดกิจกรรม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามแบบและระยะเวลาที่กำหนด และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของ กศน. ตำบล

ตอนที่ 3 บทบาทหน้าที่
กศน.ตำบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน.ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน.ตำบล ดังนี้
1. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตำบล/แขวง
1)      การวางแผนจัดทำฐานข้อมูลชุมชน  จัดทำแผนพัฒนา กศน. ตำบล และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
2)      การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
·         จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การส่งเสริมการรู้หนังสือการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ การศึกษาต่อเนื่อง
·         จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ ส่งเสริมการอ่าน จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อที่หลากหลาย จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน
3)      บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
·         ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)
·         ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)
·         ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ร่วมกับ (กระทรวงไอซีที)
·         มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตร่วมกับ (สสวท.)
·         หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย
·         ธนาคารเคลื่อนที่
·         การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
·         อำเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอำเภอ
4)      สร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน โดยการประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย องค์กรชุมชนผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อร่วมเป็นอาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน เป็นต้น
5)      ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่แผนงาน โครงการ กิจกรรมและผลการดำเนินงานของ กศน. ตำบล ในรูปแบบต่างๆ
6)      รายงานผลการปฏิบัติงาน รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามแบบรายงานและระยะเวลาที่กำหนด และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของ กศน. ตำบล
2. บทบาทหน้าที่ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน
          ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนต้องปฏิบัติงานประจำที่ศูนย์การเรียนชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกโรงเรียนตามภารกิจการศึกษานอกโรงเรียน บนพื้นฐานความต้องการประชาชนในพื้นที่ ตลอดทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนจึงไม่ใช่ผู้สอนเนื้อหาความรู้ให้ผู้เรียนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นผู้แนะนำวิธีการแสวงหา และพัฒนาความรู้ให้กับประชาชนในชุมชน ตามสภาพและวิถีชีวิต  ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนจึงต้องปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจหลักดังนี้ สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (2547: 21-22)
1)      จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามภารกิจของงานการศึกษานอกโรงเรียน และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ
2)      ทำแหล่งข้อมูลศักยภาพของชุมชน เช่น แหล่งวิทยาการ แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ สถานประกอบการณ์ โบราณสถาน ศาสนสถาน สถานที่ราชการ องค์กรเอกชน ผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ และจัดเก็บอย่างเป็นระบบพร้อมที่จะให้บริการและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะชนได้รับทราบ
3)      จัดทำแผนงาน  โครงการเสนอเข้าแผนชุมชน แผนพัฒนาตำบล และแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษา
4)      จัดบริการสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพื่อบริการให้นักศึกษา ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ตามความสนใจ
5)      สร้างเครือข่ายส่งเสริมการเรียนรู้ โดยประสานงานกับห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียนชุมชนอื่นๆ  และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพื่อเป็นเครือข่ายในการจัดกิจกรรมและหมุนเวียนสื่อการเรียนรู้
6)      ประสานงานกับพันธมิตร/เครือข่ายหน่วยงานต่างๆ ในชุมชนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
7)      ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของศูนย์การเรียนชุมชน
8)      ปฏิบัติงานด้านธุรการของศูนย์การเรียนชุมชนเกี่ยวกับการเรียนการสอน
9)      สรุปและรายงานผลการดำเนินงานในศูนย์การเรียนชุมชน เสนอถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชน
                    จึงสรุปได้ว่า ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน เป็นผู้ปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียนในศูนย์การเรียนชุมชน มีบทบาทหน้าที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนตามบทบาทภารกิจงานการศึกษานอกโรงเรียน  เป็นผู้ใกล้ชิดกับประชาชนผู้รับบริการการศึกษานอกโรงเรียน จึงเป็นผู้จัด ผู้กระตุ้น ผู้สนับสนุน ผู้ประสาน ให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน
3. บทบาทหน้าที่ของ กศน. อำเภอ / เขต ที่มีต่อ  กศน. ตำบล
1) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายจุดเน้นของ สำนักงาน กศน.
2) สนับสนุนงบประมาณตามแผนปฏิบัติงานประจำปี ของ กศน. ตำบล
3) จัดซื้อ จัดหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการให้บริการ
4) พัฒนาหัวหน้า กศน. ตำบล อาสาสมัคร กศน. ตำบล และคณะกรรมการ กศน. ตำบล
5) ประสานภาคีเครือข่ายเข้าร่วมจัดกิจกรรมระดับตำบล
6) ร่วมกับ กศน. ตำบล จัดกิจกรรมการเรียนรู้
7) จัดและพัฒนาระบบงานธุรการของ กศน. ตำบล
8) นิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กศน. ตำบล
9) สรุป วิเคราะห์ ผลการดำเนินงาน กศน. ตำบล ในระดับอำเภอ รายงานสำนักงาน กศน.
10) เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ในรูปแบบต่างๆ
3. บทบาทหน้าที่ของ สำนักงาน กศน. จังหวัด/กทม. ที่มีต่อ กศน. ตำบล
1) ชี้แจงนโยบายจุดเน้นการดำเนินงาน
2) สนับสนุนงบประมาณตามแผนปฏิบัติงานประจำปี ของ กศน. ตำบล
3) พัฒนาหัวหน้า กศน. ตำบล อาสาสมัคร กศน. ตำบล และคณะกรรมการ กศน. ตำบล
4) ประสานภาคีเครือข่ายระดับจังหวัดเข้าร่วมจัดกิจกรรมระดับตำบล
5) จัดและพัฒนาระบบงานธุรการของ กศน. ตำบล
6) กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กศน. ตำบล
7) เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ในรูปแบบต่างๆ
4. บทบาทหน้าที่ของ สถาบัน กศน. ภาค ที่มีต่อ กศน. ตำบล
1) สนับสนุนสื่อการเรียนรู้
2) ร่วมพัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษานอกระบบ
3) จัดเวทีแสดงผลงานทางวิชาการระดับภาค
4) ร่วมพัฒนาครู กศน. ตำบล
5) วิจัยเพื่อการพัฒนาการดำเนินงาน กศน. ตำบล
เอกสารอ้างอิงสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.(2553)
                     คู่มือปฏิบัติงานครู กศน. ตำบล. กรุงเทพฯ : สำนักงาน กศน.

July 16, 2016

การสมัครเรียน กศน.แขวงบางพรม


กศน.แขวงบางพรม  เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
เลขที่ 30 วัดเทพพล  แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน  กรุงเทพมหานคร


 นักศึกษาสะดวกเรียนที่ไหน  สามารถไปสมัครได้ทั้ง   2 แห่ง

ศรช.วัดเทพพล   ถนนบางพรม-พุทธมณฑลสาย 1
@  ศรช.พระเทพโมลี (วัดเงิน)  ถนน แก้วเงินทอง 

สมัครเรียน โปรดติดต่อ

v  อ.อัญชิษฐา      091-698-7033    
v  อ.ทัศนีย์          082-208-5156
v  อ.วรากิจ         091-698-6033    
v  อ.ภัทรพงศ์      089-996-6688


การสมัครเรียน กศน.

คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเรียนการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ
ในการสมัครเป็นนักศึกษา กศน. ทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติของนักศึกษา ดังนี้
1. ระดับประถมศึกษา
1.      มีสัญชาติไทย
2.      เป็นผู้ที่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ หรือเป็นผู้ที่ได้รับการยกเว้นตาม พ...ประถมศึกษา หรือเป็นผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาภาคเรียนปกติหรือเป็นผู้ที่ได้รับการยกเว้นตามกฎกระทรวง
          3.   ไม่จำกัดพื้นฐานความรู้
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
1.มีสัญชาติไทยหรือมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานวันเดือนปีเกิด ในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าสถานศึกษา พ..2535
          2.สอบได้วุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
2.1 ประถมศึกษาปีที่ 6 (.6)
2.2 ประโยคประถมศึกษาตอนต้น (.7)
2.3 การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 3
2.4 หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญระดับประถมศึกษา
2.5 วุฒิอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เทียบเท่าระดับประถมศึกษาปีที่ 6
ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ..2521
2.6 ใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อสิทธิบางอย่าง
2.7 ใบรับรองวุฒิการสอบเทียบความรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 เพื่อสิทธิบางอย่าง
2.8 เคยศึกษาหลักสูตรต่างประเทศ ระดับชั้น(เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 7
2.9 สอบได้ระดับชั้น(เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 7
2.10 ผู้สอบตกชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
สำหรับพระภิกษุ สามเณรที่จะสมัครเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้เป็นไปตามที่
มหาเถรสมาคมกำหนด
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
          1.มีสัญชาติไทยหรือมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานวันเดือนปีเกิด
ในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าสถานศึกษา พ.. 2535
2.สอบได้วุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
2.1 ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (..3)
2.2 มัธยมศึกษาปีที่ 3 (.3)
2.3 การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับ 4
2.4 จบการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2.5 เปรียญธรรม 3 ประโยค
2.6 วุฒิอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.. 2521
2.7 เคยศึกษาหลักสูตรต่างประเทศ ระดับชั้น (เกรด) การศึกษาปีที่ 10 หรือสอบได้ระดับชั้น (เกรด) การศึกษาอย่างน้อยปีที่ 10
สำหรับพระภิกษุ สามเณรที่จะสมัครเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้เป็นไปตามที่มหาเถรสมาคมกำหนด
หลักฐานในการสมัครเรียน

1. ใบสมัครการเป็นนักศึกษา
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมสำเนา                              จำนวน  4  ฉบับ
3. สำเนาบัตรประชาชน                                                    จำนวน  4  ฉบับ
4. หนังสือสำคัญแสดงวุฒิการศึกษาตัวจริงพร้อมสำเนา              จำนวน  4  ฉบับ
5. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว สวมเสื้อขาวนักศึกษาสีขาว                    จำนวน  4  ฉบับ
6. สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ-สกุล/ทะเบียนสมรส ฯลฯ(ถ้ามี)     จำนวน  4  ฉบับ
7. เอกสารสำเนาทุกฉบับต้องรับรองสำเนาถูกต้อง


แผนที่วัดเทพพล





การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

แนวคิด
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต การสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคม มีการบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม ศีลธรรม และวัฒนธรรม มุ่งสร้างพื้นฐานการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และพัฒนาความสามารถเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมจัดการศึกษาให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้ว่า การศึกษานอกระบบเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นหลักสูตรที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน และการประกอบอาชีพ โดยการกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเป้าหมายด้านจิตใจให้มีคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่นอกระบบ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร

หลักการ
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักการไว้ดังนี้
1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล ชุมชน และสังคม
2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

จุดมุ่งหมาย
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ จึงกำหนดจุดหมายดังต่อไปนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุขตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา
ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ระดับการศึกษา
ระดับการศึกษาแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ
v  ระดับประถมศึกษา
v  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
v  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอน แต่ทั้งนี้ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน

สาระการเรียนรู้
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ และ 18 มาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้
1. สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้
มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้
มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น
มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

2. สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร
มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 3.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทาง และตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ และศักยภาพของตนเอง
4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและ สุนทรียภาพ
5. สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของสังคม
มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม

หมายเหตุ สาระการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร ซึ่งภาษาในมาตรฐานนี้หมายถึง ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ

โครงสร้างหลักสูตร


หมายเหตุ
วิชาเลือกและวิชาบังคับในแต่ละระดับสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต

จากโครงสร้างหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรายวิชาบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร สำหรับรายวิชาเลือกนักศึกษาสามารถเลือกตามรายวิชาที่สำนักงาน กศน. จัดทำขึ้น หรือพัฒนาขึ้นได้ตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน

หลักสูตรแก้ไข พ.ศ. 2557  นักศึกษาการศึกษาทุกระดับ 
ต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตจำนวน 200 ชั่วโมง

การลงทะเบียนเรียนรายวิชา
การลงทะเบียนเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชาและตามจำนวนหน่วยกิต ในแต่ละภาคเรียนดังนี้
1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 16 หน่วยกิต
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 20 หน่วยกิต

การลงทะเบียนเรียน  ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2557
ประถม                     สามารถลงทะเบียนภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วย ภาคเรียนสุดท้ายไม่เกิน 17 หน่วย ปกติเรียน 4 ภาคเรียน 2 ปี
มัธยมศึกษาตอนต้น      สามารถลงทะเบียนภาคเรียนละไม่เกิน 17 หน่วย ภาคเรียนสุดท้ายไม่เกิน 20 หน่วย ปกติเรียน 4 ภาคเรียน 2 ปี
มัธยมศึกษาตอนปลาย   สามารถลงทะเบียนภาคเรียนละไม่เกิน 23  หน่วย ภาคเรียนสุดท้ายไม่เกิน 26 หน่วย ปกติเรียน 4 ภาคเรียน 2 ปี


โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  (ปรับปรุง  พ.ศ. 2559)

การปรับปรุงหลักสูตร หลักเกณฑ์การดำเนินงานที่ปรับปรุง
          เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 บรรลุตามหลักการของหลักสูตรมากยิ่งขึ้น จึงปรับปรุงและเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ที่
สาระการเรียนรู้
จำนวนหน่วยกิต
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
วิชาบังคับ
วิชาเลือก
วิชาบังคับ
วิชาเลือก
วิชาบังคับ
วิชาเลือก
1
ทักษะการเรียนรู้
5

5

5

2
ความรู้พื้นฐาน
12

16

20

3
การประกอบอาชีพ
8

8

8

4
ทักษะการดำเนินชีวิต
5

5

5

5
การพัฒนาสังคม
6

6

6

รวม
36
12
40
16
44
32
48 นก.
56 นก.
76 นก.
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
200 ชม.
200 ชม.
200 ชม.

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คงใช้โครงสร้างเดิม แต่จะปรับรายละเอียดภายใน ซึ่งไม่กระทบต่อมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร ดังนี้
1.1 วิชาบังคับ
1.1.1 ปรับเนื้อหาบางรายวิชาให้มีความทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
1.1.2 วิเคราะห์เนื้อหาที่ต้องรู้ในรายวิชาบังคับ และจัดทำสื่อเผยแพร่ให้สถานศึกษาและผู้เรียนนำไปใช้ในการเรียน
               1.2 วิชาเลือก วิชาเลือกจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ วิชาเลือกบังคับ และวิชาเลือกเสรี โดยกำหนดสัดส่วนดังนี้
ที่
สาระการเรียนรู้
จำนวนหน่วยกิต
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
เลือกบังคับ
เลือกเสรี
เลือกบังคับ
เลือกเสรี
เลือกบังคับ
เลือกเสรี
1
ทักษะการเรียนรู้
-

-

-

2
ความรู้พื้นฐาน
2

3

3

3
การประกอบอาชีพ
-

-

-

4
ทักษะการดำเนินชีวิต
2

3

3

5
การพัฒนาสังคม
-

-

-

รวม
4
8
6
10
6
26
12 นก.
16 นก.
32 นก.

1.2.1 วิชาเลือกบังคับ เป็นวิชาที่พัฒนาขึ้นตามนโยบายของประเทศ และเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศในเรื่องต่างๆ ในช่วงแรก จะพัฒนาจำนวน  2 วิชา ทั้ง 3 ระดับ คือ วิชาพลังงานไฟฟ้า และความรู้ทางการเงิน
               1.2.2 วิชาเลือกเสรี เป็นวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นเอง โดยให้ยึดหลักการในการพัฒนา คือ
               1) พัฒนาโปรแกรมการเรียน เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางและเป้าหมายทางการเรียนของผู้เรียน สถานศึกษาจึงต้องวิเคราะห์ความต้องการ ความจำเป็น และความสนใจของผู้เรียน เพื่อออกแบบโปรแกรมการเรียน ภายในโปรแกรมการเรียนจะประกอบไปด้วยรายวิชาต่างๆ ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้
               2) การพัฒนารายวิชาในโปรแกรมการเรียน สถานศึกษาควรดำเนินการร่วมกับผู้เรียนและภูมิปัญญา ผู้รู้ หรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ จัดทำโปรแกรมการเรียนและพัฒนารายวิชาต่างๆ

2. การจัดกระบวนการเรียนรู้
2.1 ครู กศน. เป็นผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเป็นรายกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และ รายบุคคล  ( Individualized Education Program /Plan) ในขณะเดียวกันครูและผู้เรียนต้องร่วมกันในการอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์และสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน อันจะทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ
2.2 ผู้เรียนใช้วิธีการเรียนรู้หลายวิธีผสมกันทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบทางไกล การพบกลุ่ม การเข้าค่าย การสอนเสริม หรือ การเรียนโดยโครงงาน การเรียนรู้ที่หลากหลายวิธีจะต้องมีแผนการเรียนรู้ โดยครูและผู้เรียนจัดทำสัญญาการเรียนรู้ร่วมกัน และครูจะเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนและกำกับให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปตามแผนและบรรลุเป้าหมาย

3. สื่อ
3.1 สื่อวิชาเลือกบังคับกลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจัดทำ
ต้นฉบับ
3.2 สื่อรายวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรรายวิชาเลือกเสรี แล้วเสนอให้คณะกรรมการของ สำนักงาน กศน.จังหวัดพิจารณา ตรวจสอบสอดคล้องของรายวิชากับโปรแกรมการเรียน สอดคล้องกับมาตรฐานของกลุ่มสาระในแต่ละระดับการศึกษา จากนั้น สำนักงาน กศน.จึงขอรหัสรายวิชาเลือกจากระบบโปรแกรมรายวิชาเลือก ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้พัฒนารายวิชาเลือกที่เรียนได้ทุกระดับการศึกษา
3.3 รูปแบบของสื่อ มี 2 รูปแบบ คือ แบบชุดวิชาและแบบเรียนปลายเปิดโดยให้พิจารณา
ตามธรรมชาติของวิชา    
3.4 การจัดทำสื่อเสริมการเรียนรู้ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ร่วมกันผลิตสื่อเสริมการเรียนรู้ในเนื้อหาที่ยาก เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจในการเรียนรายวิชาต่างๆ
4. การวัดและประเมินผล    การวัดและประเมินผลจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
4.1 วิชาบังคับ สำนักงาน กศน.กำหนดสัดส่วนการวัดผลระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน เป็น 60 : 40 โดยวัดผลในเนื้อหาที่ต้องรู้ และจัดทำ Test Blueprint เฉพาะเนื้อหาที่ต้องรู้ Test Blueprint  ดังกล่าว จะสอดคล้องกับการสอบ N-net ด้วย
4.2 วิชาเลือกบังคับ กำหนดสัดส่วนการวัดผลระหว่างภาคและปลายภาค คือ 60 : 40 โดยกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำ Test Blueprint และจัดทำแบบทดสอบ ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
4.3 วิชาเลือกเสรี สถานศึกษาปรับปรุงระเบียบสถานศึกษาว่าด้วยการวัดและประเมินผล
การเรียน โดยเพิ่ม เกณฑ์การวัดและประเมินผล